วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ชิสุ (Shih-Tzu)




ชิสุ (Shih-Tzu)

ลักษณะทั่วไป
ชิสุเป็นสุนัขที่แข็งแรง ร่าเริง กระตือรือร้น บรรพบุรุษเป็นสุนัขของชนชั้นสูงในจีน จึงมีลักษณะสง่างาม หัวเชิด หางโค้งงอมาถึงหลัง ถึงแม้จะมีขนาดแตกต่างกันแต่โดยทั่วไปชิสุจะต้องตัวเล็กกะทัดรัด กระนั้นก็ไม่ถึงกับบอบบาง ต้องมีสุขภาพดีและมีโครงสร้างที่ได้มาตรฐาน

ความเป็นมา
ชิสุ ชื่อของสุนัขพันธุ์นี้มาจากภาษาจีน แปลว่า สุนัขสิงโตเป็นสุนัขในสามสายพันธุ์ชั้นสูง พวกเดียวกับปักกิ่งและปั๊ก เป็นสุนัขที่หรูหราที่สุดจากจักรพรรดิจีน โดยกล่าวว่าพระทิเบตมอบสุนัขพันธุ์ชิสุให้
จักรพรรดิจีนเป็นของกำนัล สุนัขพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักนอกอาณาจักรจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1903 เริ่มจาก
อังกฤษ ฝรั่งเศส ชิสุเป็นสุนัขตัวเล็กขนยาว เจ้าเสน่ห์มีหางไม่ยาวนักยกสูงขึ้นเหนือหลัง ขนที่หัวมัก
จะโดนรวบขึ้นแล้วผูกโบว์สีแดงดูสะดุดตามาก มีท่วงทำนองการเดินสูงศักดิ์แบบขุนนาง แต่ลักษณะ
การเห่าของชิสุจะมีความเป็นเฉพาะตัวอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่มันจะเห่าทักทายด้วยเสียงใหญ่
ดังน่ากลัวมากตลอดเวลาจนกว่าเจ้าของจะปรามถ้าเป็นแบบทีคัพก็จะยังดังอยู่มากด้วย



ลักษณะนิสัย
ปกติชิสุจะมีนิสัย ดุ เห่าเก่งมากและดังมากดูจะเป็นสุนัขอารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่ามันจะไม่เชื่อฟังเจ้าของถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง ขี้ประจบ ตื่นตัว รักษาสะอาด เป็นมิตร ทำให้ปรับตัวได้ดี ชิสุชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออกไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง
การดูแล 

ชิสุเป็นสุนัขที่เหมาะจะเลี้ยงไว้ในบ้าน และชอบวิ่งเล่นในสนามบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิด ผู้เลี้ยงควรจูงเขาเดินเล่นเป็นประจำวัน ควรอาบน้ำทำความสะอาดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และเป่าขนให้แห้งทันทีหลังจากที่อาบน้ำเสร็จ กำจัดเห็บหมัดอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อขนของชิสุ ยาว ผู้เลี้ยงควรพาไปตัดแต่งขนเพื่อความสวยงาม ตัดเล็บอย่งสม่ำเสมอ ส่วนเรื่องของการให้อาหารนั้นผู้เลี้ยงควรให้อาหาร 2 ครั้งต่อวัน ควรให้อาหารตรงเวลา และอาหารที่ให้ควรเป็นอาหารเม็ดมากกว่าอาหารกระป๋อง เพราะชิสุมีขนยาว หากให้กินอาหารกระป๋องจะทำให้เลอะและมีกลิ่นปากได้  
ด้านการดูแลสุขภาพผู้เลี้ยงควรพาชิสุไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคสุนัขบ้าและวัคซีนอื่นๆ ตามตารางที่สัตว์แพทย์ได้กำหนด และเมื่อชิสุมีแผลควรใส่ยารักษา นอกจากนี้ผู้เลี้ยงยังควรเอาใจใส่และดูแลสุนัขอย่างใกล้ชิด ไม่ควรปล่อยให้มันอยู่ในบ้านตัวเดียวนานๆ เพราะสุนัขอาจเกิดอาการซึมเศร้าได้

ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
ชิสุ มีบุคลิกกระฉับกระเฉง สามารถให้ความรักกับสุนัขได้ มีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ เช่น เล่น แปรงขน ฝึกให้เข้าสังคม เป็นต้น

มาตรฐานสายพันธุ์  
ขนาด ความสูงวัดจากพื้นถึงแนวหลังคือ 9 ถึง 10.5 นิ้ว ไม่ต่ำกว่า 8 นิ้ว และไม่เกิน 11 นิ้ว น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ควรอยู่ระหว่าง 9 ถึง 16 ปอนด์

ศีรษะ  กลม กว้าง มีขนาดพอดีกับลำตัว

ฟัน  มีขนาดสั้น ปากไม่แหลม ไม่มีรอยย่นของผิวหนังรอบปาก

ปาก  ต้องขบสนิท เรียบ ฟันล่างขบฟันบนเล็กน้อย ขบแบบเสมอ หรือ UNDERSHOT เล็กน้อย อย่าให้ฟันบนเกยฟันล่างเด็ดขาด

ตา  ใหญ่ กลม ไม่ปูดโปน ตั้งอยู่ห่างกัน มองตรงไปข้างหน้า ดวงตาสีดำสนิท ยกเว้นชิห์สุที่มีสีเหลืองหรือสีน้ำเงินอาจมีสีตาอ่อนลงได้

หู  ใหญ่ ตั้งอยู่ต่ำกว่าขอบข้างของกะโหลกเล็กน้อย มีขนหนา

คอ  เชื่อมต่ออยู่กับช่วงไหล่อย่างสวยงาม มีความยาวเหมาะสมพอที่จะยกหัวขึ้นและดูสง่างามได้ นอกจากนี้ยังต้องยาวสมดุลกับความยาวและความสูงของลำตัว
อกกว้างและลึก ไหล่ดูมั่นคงแข็งแรง แผ่นหลังตรงได้สัดส่วน


ลำตัว  สั้น หนา ไม่มีเอวหรือส่วนเว้าที่ช่วงเอว มีสัดส่วนความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย ข้อบกพร่อง ขายาวเก้งก้าง
ขาหน้า ตรง กระดูกแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ วางอยู่ใต้อกและห่างกันพอดี ข้อศอกอยู่ชิดกับลำตัว


ขาหลัง  ตรง กระดูกแข็งแรง มีกล้ามเนื้อ เมื่อมองจากด้านหลังไม่อยู่ชิดกันเกินไป ควรอยู่ในแนวเดียวกับขาหน้า

หาง  ตั้งอยู่สูง มีขนยาว หนา หางงอโค้งขึ้นไปบนหลัง

ขน  มีขนหนาสองชั้น ขนยาวสลวย อาจหยิกเป็นคลื่นได้เล็กน้อย ขนที่หัวยาวต้องผูกจุกรวบไว้ ข้อบกพร่อง ขนบาง มีขนชั้นเดียว ขนหยิก
สีขน มีสีและลายอย่างไรก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier)




แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย (Jack Russell Terrier)

ความเป็นมาของสุนัขแจ็ค รัสเซลล์

แจ็ครัสเซลล์ ได้มีการเพาะพันธุ์สายพันธุ์ขึ้นมาใหม่เมื่อต้นปี ค.ศ. 1800 ในประเทศอังกฤษโดยศาสนจารย์ Jack Russell ซึ่งภายหลังสุนัขพันธุ์ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า Jack Russell Terrier (JRT) ตามชื่อของท่านศาสนจารย์ นอกจาก Jack Russell Terrier จะมีชื่อตามศาสนจารย์ที่เรียกกันแล้ว ก็ยังมีบางครั้งที่คนมักเรียกก็คือ PARSON JACK RUSSELLโดยทั่วไปแล้วสุนัขสายพันธุ์กลุ่ม TERRIER จะใช้ในการล่าสัตว์และติดตามเหยื่อไปหลังจากที่เหลือ โดยสุนัขในกลุ่ม HOUND ไล่ต้อนมาก่อนหน้านี้แล้ว


ลักษณะนิสัยของสุนัขแจ็ค รัสเซลล์
เป็นนักล่าตัวเล็กๆ ที่ยอดเยี่ยม มีความว่องไวในการไล่ล่า เป็นสุนัขที่ฉลาดและเชื่อฟังคำสั่งของเจ้านายและปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดี
แจ็ครัสเซลล์ เทอร์เรียร์ มีความเป็นนักล่าตัวเล็กๆ โดยจะไล่ล่าไปตั้งแต่ หมาจิ้งจอก จนถึงหนูตัวเล็กๆ มันจะใช้เวลาในการสำรวจพื้นที่ก่อนจะทำการไล่ล่า แจ็ครัสเซลล์ ทอร์เรียร์เป็นสุนัขที่มีความฉลาด ซึ่งเห็นได้ ชัดจากการที่สุนัขเชื่อฟังคำสั่งของเจ้าของได้อย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในสนามแข่งขัน



มาตรฐานสายพันธุ์ แจ๊ครัสเซลล์
หัว       -กระโหลกแบน  ความกว้างของกะโหลกแคบลงสู่ตาและต่อเนื่องไปถึงส่วนขากรรไกร ความยาวจากปลายปากถึง  stop จะสั้นกว่าความยาวจาก stop ถึงส่วนหัวเล็กน้อย
หู         -เป็นรูปตัววี ปลายหูพับห้อยปรก หันไปด้านหน้า
ตา       -ตาเล็ก รูปวงรีเหมือนถั่วอัลมอนด์  ตามีสีเข้ม  แววตาแสดงออกถึงความฉลาด หลักแหลม  ตาต้องไม่โปน ขอบตาควรมีสีดำ
ปาก    -ขอบปากมีสีดำและปิดสนิท
จมูก    -มีสีดำ  และมี stop ที่ไม่เด่นชัดเกินไป
ฟัน      - แข็งแรง เขี้ยวมีความลึกและกว้าง  ฟันสบกับสนิท แบบกรรไกร
ลำตัว  -ลำตัวมีความยาวมากกว่าความสูงเล็กน้อย  เส้นหลังตรงความกว้างจากหัวไหล่ถึงหน้าอกจะเท่ากับความสูงจากหน้าอกถึงพื้น
คอ       - แข็งแรง
อก
       -มีความลึกมากกว่าความกว้าง
สะโพก - มีลักษณะสั้น มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง เป็นมัดๆ
ขา       -ขาหน้าตั้งตรงจากไหล่ถึงนิ้วเท้า  ขาหลังแข็งแรงและเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ
หาง     -หางตั้ง  ตัดสั้นประมาณ 4-5 นิ้ว หรือปล่อยยาว  
ขน       -แบ่งเป็น 2 ลักษณะ  ขนสั้น และขนหักหรือขนหยาบ สภาพขนต้องไม่อมน้ำ
-ขนมีสีขาวเป็นพื้น  และมี mark เป็นสีน้ำตาล หรือดำ-น้ำตาล(สามสี)และต้องมีสีขาวมากกว่า  
50%                                                                                                                                            ขนาด  -ส่วนสูง 10-12 นิ้ว
            -น้ำหนัก 1 กิโลกัมต่อความสูง 5 เซ็นติเมตร
การเดินและวิ่ง -หางตั้ง  การเคลื่อนไหวมองดูคล้ายม้า


ผู้ที่ต้องการเลี้ยง JACK RUSSELL TERRIER ควรมีคุณสมบัติดังนี้


1. JACK RUSSELL TERRIER เป็นสุนัขตื่นตัวตลอดเวลา มันควรได้รับการออกกำลังกายอย่างเต็มที่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรอยู่ในความควบคุมดูแลและควรได้รับการฝึกสอนจากเจ้าของหรือฝึก


2. JACK RUSSELL TERRIER เป็นสุนัขที่ต้องการการเอาใจใส่ดูแลและเวลาจากเจ้าของอย่างมาก เนื่องจากเป็นสุนัขที่ชอบเข้าสังคมและขี้เล่น
3. ผู้เลี้ยง JACK RUSSELL TERRIER ควรจัดระบบการเลี้ยงให้ถูกต้อง เช่นต้องมีรั้วรอบขอบชิด เพราะ สามารถกระโดดได้สูงมาก รวมถึงปีนป่าย แม้กระทั่งขุดรูเพื่อหนีเที่ยวถ้ามันรู้สึกเบื่อหรืออยากหาอะไรสนุกตื่นเต้นทำ
4. เพื่อความปลอดภัยของสุนัข ผู้เลี้ยง JACK RUSSELL TERRIER ควรจะใช้สายจูงตลอดเวลาที่พาไปเดินเล่น เนื่องจาก JACK RUSSELL TERRIER เป็นสุนัขที่มีความรวดเร็วและคล่องตัวสูงมา




ปัญหาที่เกิดขึ้นกับขนของ แจ๊ครัสเซลล์                                                                                                                 ปัญหาขนร่วง ขนที่เราเห็นว่าร่วงอยู่ในแต่ละวันของ แจ๊ครัสเซลล์ นั้นเป็นขนที่หมดอายุ และจะหลุดร่วงตามปกติเป็นประจำวัน อยู่แล้วเราจะต้องทำการปัดเพื่อขจัดขนของสุนัขที่หมดอายุให้หลุดร่วงไปเพื่อขจัดปัญหาขนร่วงในระหว่างวัน  โดยทำการปัดอย่างน้อยวันละ ครั้งในตอนเช้าและเย็นจะทำให้ในระหว่างวันขนจะหลุดร่วงน้อยลงและจะเป็นการช่วยนวดผิวหนังของสุนัขให้แข็งแรงขึ้นด้วย
    การปัดขจัดขน ทำได้โดยการปัดแรงๆ ย้อนขน จากส่วนท้าย (ก้น) มายังส่วนหัว ปัดแรงๆ โดยใช้มือ เปล่าหรือถุงมือหนังก็ได้ แจ๊ตรัสเซลล์ ขนหักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องขนร่วง  เพราะเมื่อขนหมดอายุแล้วจะไม่หลุดร่วงง่ายๆ  จะต้องทำการถอนออกจึงจะหลุด









ชิวาวา (Chihuahau)



ชิวาวา (Chihuahau)  สุนัขพันธุ์นี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 9 มีถิ่นกำเนิดในดินแดนที่เป็นประเทศเม็กซิโกในปัจจุบันในการค้นพบทวีปอเมริกาของ CHRISTOPHER COLUMBUS ก็มีบันทึกการค้นพบสุนัขพันธุ์ชิวาวานี้ด้วย จากตำนานกล่าวว่าชาวพื้นเมืองนิยมเลี้ยงสุนัขพันธุ์ชิวาวามาก และเกิดความเชื่อถือในเรื่องโชคลางต่างๆ ตลอดจนมีการนำสุนัขพันธุ์นี้ไปใช้ในพิธีบูชายันต์ มีผู้พบภาพสลักของสุนัขพันธุ์ตามก้อนหินต่างๆ และในถ้ำสุนัขพันธุ์ชิวาวามี 2 ชนิด คือ ชนิดขนสั้นและชนิดขนยาว

ลักษณะทั่วไป
ชิวาวา เป็นสุนัขขนาดเล็ก ถือว่าตัวเล็กที่สุดในโลก!! หูมีขนาดใหญ่ ดวงตากลมโต เหมาะที่จะใช้เลี้ยงเป็นเพื่อน ชอบออกไปเดินเล่นกับเจ้าของ เห่าเสียงดัง ค่อนข้างติดเจ้าของและไม่ทำลายข้าวของ

ลักษณะนิสัย
ฉลาด ร่าเริง ตื่นตัวอยู่เสมอ 
การดูแล
   วงอายุที่ต้องการเอาใจใส่มากที่สุดในการเลี้ยงชิวาวาเพราะสุนัขจะตายมากที่สุดคือช่วงอายุระหว่าง 2-3 เดือน เนื่องจากวัยนี้เป็นช่วงที่สุนัขเพิ่งเริ่มอดนมใหม่ๆ ซึ่งหากลูกสุนัขกินอาหารอะไรที่ผิดไปเพียงนิดเดียว ก็จะส่งผลให้สุนัขท้องเสียได้ โดยถ้าสุนัขตัวไหนไม่มีภูมิต้านทานได้รับเชื้อก็อาจจะถึงตายได้เหมือนกัน แต่หลังจากช่วงอายุ 2-3 เดือนไปแล้ว ก็สามารถที่จะเอาใจใส่น้อยลงได้ 


   วิธีสังเกตง่ายๆ ว่าสุนัขมีอาการผิดปกตินั้นให้สังเกตจากการที่สุนัขไม่ค่อยกินข้าวหรือกินข้าวน้อยลงก็ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าสุนัขกำลังจะไม่สบาย และส่วนการให้อาหารนั้นผู้เลี้ยงสามารถเลือกซื้ออาหารสุนัขสำเร็จรูปที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดมาให้กับสุนัขกินได้เพียงแต่เลือกให้เหมาะสมกับสุนัขเท่านั้น

   

   ในเรื่องของการออกกำลังกาย ผู้เลี้ยงสามารถปล่อยให้ชิวาวาไปออกกำลังกายได้เองภายในสวนหรือพื้นที่จำกัด แต่ชิวาวาชอบที่จะออกไปเล่นกับเจ้าของมากกว่า

   ส่วนเรื่องสุขภาพนั้นโรคที่จะเกิดขึ้นกับชิวาวาก็จะเหมือนกับสุนัขพันธุ์อื่นทั่วๆ ไป ซึ่งโรคที่พบบ่อยคือ โรคลำไส้อักเสบกับไข้หัด สาเหตุของโรคทั้งสองเป็นโรคติดต่อซึ่งหากสุนัขตัวไหนไม่มีการฉีดวัคซีนแล้วไปถูกเชื้อเข้าก็จะติดต่อได้

ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
   ผู้เลี้ยงชิวาวาต้องมีเวลาพาสุนัขไปออกกำลังกายบ่อยๆ เพื่อควบคุมน้ำหนัก และต้องมีความรอบคอบในการดูแลสุนัข เนื่องจากชิวาวาเป็นสุนัขพันธุ์เล็กหากผู้เลี้ยงไม่มีความระมัดระวังอาจจะเผลอถอยรถเหยียบหรือพลัดหล่นจากมือตกลงมาตายหรือกัดสายไฟถูกไฟช๊อตตายได้ ดังนั้นการป้องกันอุบัติเหตุที่ดีที่สุดคือการใส่สุนัขไว้ในกรงตลอดเวลา

ข้อควรจำ
ระวังอย่าให้ศีรษะได้รับการกดหรือการกระแทก เพราะน้องชิวาวามีความเสี่ยงที่กระโหลกหน้าผากจะปิดไม่สนิทแม้จะอยู่ในช่วงโตเต็มวัย นอกจากนี้ ฟันของชิวาวามักมีหินปูนจับบ่อย จึงต้องพาไปหาสัตวแพทย์ ปีละ1-2ครั้ง

มาตรฐานสายพันธุ์

ศีรษะ : หัวกะโหลกมีลักษณะกลม แก้มค่อนข้างเล็ก
หู : มีขนาดใหญ่ ใบหูตั้งพันธุ์ขนยาว บริเวณหูจะมีขนยาว
ตา : มีลักษณะกลมโต
ปาก : มีขนาดค่อนข้างเล็ก
จมูก : ค่อนข้างส้น มีหลายสีขึ้นอยู่กับสีของขน
ฟัน : ขาว แข็งแรง ขบแบบกรรไกร
ลำตัว : ความยาวของลำตัวมีขนาดยาวกว่าความสูงเส้นหลัง ตรงอยู่ในแนวระดับ
คอ : มีลักษณะกลม หัวไหล่เล็ก ชนิดขนยาวบริเวณจะมีขนมาก
อก : ค่อนข้างกว้าง
ขาหลัง : มีกล้ามเนื้อมาก ข้อเท้าหลังแข็งแรง ขาหลังอยู่ห่างกันพอเหมาะมองจากด้านหลัง ขาหลังตรงไม่บิด เท้ามีขนาดเล็ก นิ้วเท้าชิดเล็บค่อนข้างยาว
หาง : มีขนาดค่อนข้างยาว ลักษณะโค้งคล้ายเคียว อาจจะม้วนหางยกสูง
ขน-สี : ชนิดขนสั้นขนค่อนข้างนุ่มและสั้นทั่วทั้งตัว ชนิดขนยาวบริเวณหู อก ลำตัว ขา มีขนยาว สีมีหลายสี เป็นสีเดียวทั่วตัว แต่อาจจะมีสีจางบางส่วนได้
ขนาด : เป็นสุนัขที่มีขนาดเล็กมาก
น้ำหนัก : มีน้ำหนักไม่เกิน 6 ปอนด์
การเดิน-วิ่ง : มีความสง่างาม

ปอมเมอเรเนียน (POMERANIAN)




ปอมเมอเรเนียน (POMERANIAN)
ลักษณะทั่วไป
     สุนัขปอมเมอเรเนียนหรือเรียกสั้นๆ ว่า น้องปอมอยู่ในกลุ่ม Toy Group มีขนาดกระทัดรัด หลังสั้น ขนชั้นล่างอ่อนนุ่ม แน่นทึบ ขนชั้นนอก ยาว ฟู มีมาก ค่อนข้างหยาบ ตำแหน่งโคนหางสูง ขนหางแน่น เป็นพวง หางวางราบบนหลัง ปอมส่วนใหญ่ ท่าทางตื่นตัว ร่าเริง อยากรู้อยากเห็น แสดงความฉลาดให้เห็นได้เสมอ มีย่างก้าวที่คล่องแคล่ว สง่างาม และมั่นคง


ลักษณะนิสัย
     น้องปอมส่วนใหญ่มีการแสดงออกถึงความเฉลียวฉลาด ร่าเริงและตื่นตัวอยู่เสมอ ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ ขี้ประจบ แต่เป็นสุนัขค่อนข้างตกใจง่าย เห่ามาก ยิ่งตัวเล็กยิ่งเห่าเก่ง



การดูแล   
    การที่จะรักษาขนของสุนัขปอมเมอเรเนียน ให้สวยงามนั้นทำได้ง่ายมาก เจ้าของสุนัขใหม่ๆส่วนใหญ่จะเชื่อว่า จะต้องอาบน้ำให้สุนัขทุกสัปดาห์ และต้องคอยแปรงขนตลอด ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด และจะทำให้ขนของเค้าเสียอีกด้วย


การอาบน้ำบ่อยเกินไป จะทำให้ขนของปอมเมอเรเนียนแห้ง บาง และทำให้ขนร่วงตลอดเวลา การใช้โลชั่น และน้ำยาทำความสะอาดชนิดต่างๆ ติดต่อกันก็จะทำให้ผิวหนังอักเสบได้ ส่วนใหญ่แม้ว่าขนชั้นนอกจะสกปรกแล้ว แต่ขนชั้นในก็จะยังคงสะอาดอยู่ ด้งนั้นการแปรงขน เพียงสัปดาห์ละครั้ง และใช้ฟองน้ำชุบน้ำสบู่อุ่นๆ ลูบขน จากนั้นจึงเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดอุ่นๆ ซึ่งบิดพอหมาดๆ ก็นับว่า เพียงพอที่จะทำให้ขน ของปอมเมอเรเนียนอยู่ในสภาพดีแล้ว
แชมพูที่ใช้อาบน้ำให้สุนัขควรเป็นแชมพูที่ผลิตโดยเฉพาะ เพราะจะไม่ส่งผลกระทบต่อการระคายเคืองของผิวหนังและสภาพขน ในขณะอาบน้ำอาจจะใช้สำลีอุดรูหูทั้งสองข้างก่อนอาบ หรือใช้มือกดใบหูทั้งสองข้างให้หลุบลง เวลาอาบน้ำควรราดน้ำให้เปียกทั่วตัวก่อนแล้วจึงเทแชมพูลงไปแล้วเกาให้ทั่วลำตัว หลังจากนั้นก็ใช้น้ำล้างสบู่ออกให้สะอาดหมดจด เมื่ออาบเสร็จก็ต้องเช็ดตัวให้แห้งพร้อมกับแปรงขนทุกครั้ง การเช็ดตัวให้แห้งเป็นการป้องกันความอับชื้นซึ่งเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค และช่วยป้องกันโรคปอดบวมได้ ส่วนในด้านของการออกกำลังกายนั้น การออกกำลังกายมากๆ หรือใช่พื้นที่เยอะๆ ไม่ค่อยจำเป็นสำหรับปอมเมอเรเนียน แต่เราควรหันมาใส่ใจสักนิด ควรเริ่มพาปอมฯออกกำลังกายตั้งแต่ยังเล็กเพราะจะสามารถควบคุมเวลาในการออกกำลังกายไ ด้ ควรให้เดินเล่นวันละ 1-2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 15 นาที ถ้าปล่อยให้วิ่งเล่นกลางแจ้งนานเกินไป(โดยเฉพาะเวลาที่แดดจัด)อาจทำให้สุนัขเกิดอาการช็อค อาการนี้อาจส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตได้

      

  การพาน้องปอมไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้ปอมท้องไม่ผูก และสามารถป้องกันโรคได้อีกหลายๆชนิด การที่สุนัขได้วิ่งด้วยความเร็วและสนุกสนาน มีผลดีต่อหัวใจ หลอดเลือด กล้ามเนื้อ ต่อมขับต่างๆ ได้อุ่นเครื่องจนร้อน เมื่อกลับจากการออกกำลังกายก็สามารถกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งถ้าได้อาหารที่ถูกต้องยิ่งทำให้สุนัขมีสัดส่วนที่ดี ร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงมันจะมี step การเคลื่อนไหวที่ดี และสวยงาม อย่างไรก็ดีไม่ควรให้สุนัขออกกำลังกายหลังจากที่กินอาหารอิ่มเต็มที่


ผู้เลี้ยงที่เหมาะสม
     เหมาะสำหรับผู้เลี้ยงที่มีเวลาเอาใจใส่ดูแลเรื่องความสวยงามของสุนัข จำเป็นต้องมีการดูแลตัดแต่งขนของสุนัขอยู่เสมอเพื่อความสวยงาม นอกจากนี้ยังหมาะกับผู้เลี้ยงที่มีพื้นที่ในการเลี้ยงที่จำกัด


มาตรฐานสายพันธุ์

 

ขนาด
น้ำหนักของปอมฯ โดยเฉลี่ยแล้วจะหนักประมาณ 3-7 ปอนด์ (ประมาณ 1.25-3 กก.) แต่ขนาดที่ดีสำหรับการประกวดนั้นควรหนักประมาณ 4-6 ปอนด์ (1.7-2.5 กก.) ถ้าสุนัขหนักมากกว่าหรือน้อยกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ถือว่าผิดมาตรฐาน รูปร่างของสุนัขมีความสำคัญกว่าขนาดของสุนัข ช่วงตั้งแต่หน้าอกจนถึงสะโพกจะสั้นกว่าหรือเท่ากับส่วนสูงตั้งแต่ช่วงไหล่จนถึงพื้น กระดูกมีขนาดปานกลาง

ศีรษะ
ขนาดของหัวต้องได้สัดส่วนกับลำตัว ช่วงปาก (MUZZLE) สั้นตรง หน้าดูคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก (FOXY EXPRESSION) หัวกะโหลกปิด ช่วงบนของหัวกะโหลกจะกลมเล็กน้อยแต่ไม่โหนกนูน ถ้ามองจากด้านหน้าและด้านข้างแล้วจะต้องเห็นหูที่มีขนาดเล็กอยู่ในตำแหน่งที่สูง (HIGH EARSET) และตั้งตรง รูปร่างปากจะมีลักษณะคล้ายรูปลิ่ม(WEDGE SHAPE) เส้นที่ลากจากจมูกไปถึงจุดหัก (STOP) จะต้องอยู่ตรงกลางระหว่างตาทั้งสองข้างและหูทั้งสองข้าง ตามีสีดำสนิท สดใส ขนาดปานกลาง คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ (ALMOND SHAPE) สีของจมูกและขอบตาต้องดำสนิท ยกเว้นปอมฯ สีน้ำตาล BEAVER และ BLUE ฟันต้องกัดสบกันพอดี (SCISSORSBITE)

คอ

คอค่อนข้างสั้น ตั้งอยู่บนไหล่ ทำให้ช่วงคอตั้งสูง แลดูสง่างาม ช่วงหลังสั้น มีระดับของเส้นหลัง หางมีตำแหน่งที่สูง (HIGH TAILSET) วางราบตรงอยู่บนหลัง
                      
ลำตัวหน้าไหล่จะต้องมีการเอียงลาดลงเพียงพอ เพื่อให้สามารถชูคอและหัวได้สูงและสง่างาม ความยาวของช่วงไหล่และขาตอนบนต้องเท่ากัน ขาหน้าต้องตรงและขนานกัน ความยาวตั้งแต่ไหล่จนถึงข้อศอกต้องมีความยาวเท่ากับข้อศอกถึงพื้น ขาต้องตรงและแข็งแรง ไม่เอียงเข้าหรือเอียงออก

ลำตัวหลัง
ได้สัดส่วนกับลำตัวส่วนหน้า ตำแหน่งของหางจะต้องอยู่เหนือสะโพกค่อนมาทางด้านหน้าต้นขา ต้องมีกล้ามเนื้อแข็งแรงปานกลาง และมีส่วนหน้าของขาหลัง (STIFLES) มีมุม (ANGULATION) ที่โค้งงอพอสมควรรับกับส่วนน่อง (HOCK) ต้องตั้งฉากกับพื้น ถ้ามองจากด้านหลังขาทั้ง 2 ข้างต้องตรงและขนานกัน เท้ามีลักษณะโค้งมนกระชับ ไม่เอียง สุนัขต้องยืนอยู่ปลายเท้า (TOES) นิ้วติ่ง (DEWCLAWS) ถ้ามีควรตัดออก

ขน
สุนัขปอมเมอเรเนียนเ สุนัขพันธุ์เล็ก มีขนนุ่มปุกปุย สุนัขปอมฯ มีขน 2 ชั้น คือ ขนชั้นใน (UNDERCOAT) ต้องนุ่มและแน่น ขนชั้นนอก(OUTTERCOAT) ต้องยาวตรงเป็นประกายและหยาบ ขนชั้นในที่หนาแน่นจะช่วยพยุงขนชั้นนอกให้ฟูไม่ลู่ เหยียดตรง ขนจะต้องหนาแน่นตั้งแต่ช่วงคอ หน้าอก ช่วงไหล่ด้านหน้า ขนช่วงหัวและขาจะแน่นแต่สั้นกว่าขนช่วงลำตัว ขนหางยาว หยาบและเหยียดตรง 


สีขนสีที่ได้รับการยอมรับและรับรอง ควรได้รับการพิจารณาการตัดสินอย่างเท่าเทียมกัน สีที่ได้รับการยอมรับได้แก่ 
1. สีใดๆ ก็ได้ที่ขึ้นเป็นสีเดียวกันทั้งตัว หรืออาจจะมีสีที่อ่อนหรือแก่กว่าแซมอยู่ด้วย (SELT-COLOR) 
2. สีแซมกัน 2 สี (PARTI-COLOR) หมายถึงปอมฯ ที่มีสีขาวและมีสีอื่นแซมเป็นพื้นๆ กระจายเท่าๆ กันทั่วตัว และควรมีแถบสีขาวบนหัวด้วย 
3. สีดำและน้ำตาล (BLACK AND TAN) หมายถึงปอมฯ มีสีดำที่มีสีน้ำตาลอยู่เหนือตาทั้ง 2 ข้างและปาก ลำคอ หน้าอก ใต้หาง ขาและเท้าทั้ง 4 ข้าง สีน้ำตาลนี้ยิ่งเข้มยิ่งดี 
4. BRINDLE ได้แก่ปอมฯ ที่มีพื้น คือ สีทอง แดงหรือส้ม และมีสีดำแซมอยู่ทั่วทั้งตัว